หน่วยที่ 5
พวงมาลัยกำลัง (Power Steering Wheel)
5.1
ประเภทของพวงมาลัยกำลัง
พวงมาลัยกำลัง (Power Steering Wheel) หรือพวงมาลัยเพาเวอร์ เป็นพวงมาลัยที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการบังคับเลี้ยว
เพื่อให้การหมุนพวงมาลัยน้อยลง หลักการของพวงมาลัยกำลังก็คือ
การจัดอุปกรณ์เพิ่มกำลัง (Booster) อุปกรณ์เพิ่มกำลังจะทำงานเมื่อมีการหมุนพวงมาลัย
การหมุนพวงมาลัย เป็นเพียงการบังคับให้อุปกรณ์เพิ่มกำลังหันเลี้ยวรถตามความต้องการ
กำลังที่ใช้ได้มากจากแรงดันน้ำมัน (Hydraulic Pressure) โดยจะมีปั๊มสร้างกำเนิดแรงดันอยู่ตลอดเวลา เมื่อหมุนพวงมาลัยจะเปิดลิ้นให้แรงดันน้ำมันเข้าไปยังลูกสูบ แรงดันน้ำมันจะดันลูกสูบให้ไปบังคับกลไกบังคับเลี้ยวให้ทำงาน
อุปกรณ์ที่ช่วยในการบังคับเลี้ยวภายในระบบมี
2 แบบ คือ
1. ใช้เครื่องยนต์ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำมันไฮดรอลิก
2. ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำมัน
การทำงานจะอาศัยแรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิกมากระทำต่อลูกสูบที่อยู่ภายในกระบอกสูบกำลังจึงทำให้เฟืองขับในกระปุกพวงมาลัยได้รับแรงดันไฮดรอลิกไปขับฟันเฟืองสะดาน
แรงขับเคลื่อนขึ้นอยู่กับแรงดันไฮดรอลิกที่กระทำต่อลูกสูบ โดยมีปั๊มน้ำมัน (Oil Pump) ทำหน้าที่ร้างแรงดันกลไกควบคุมน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้กับพวงมาลัยกำลังแบ่งออกได้เป็น
2 แบบ คือ
1. แบบรวมชุด (Integral Type) เป็นพวงมาลัยที่มีชุดลิ้นควบคุมลูกสูบกำลังประกอบอยู่ภายในเรือนพวงมาลัย
เฟืองเกียร์ที่ใช้ในกระปุกพวงมาลัยจะเป็นแบบลูกปืนหมุนวน ส่วนลิ้นควบคุมน้ำมันไฮดรอลิกจะเป็นแบบโรตารี
และแบบแฟลบเปอร์เป็นส่วนใหญ่
2. แบบเฟืองขับและเฟืองสะพาน (Rack and Pinion Power Steering Wheel) พวงมาลัยกำลังที่มีลิ้นควบคุมจะถูกติดตั้งอยู่ภายในเรือนพวงมาลัย ลิ้นควบคุมที่ใช้ควบคุมน้ำมันไฮดรอลิกนั้นจะเป็นแบบโรตารีและแบบสพูล
(Spool Valve) ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายหลอดด้าย
โดยที่ลูกสูบกำลังจะแยกออกจากกัน
พวงมาลัยกำลังแบบเฟืองสะพานก็จะมีกลไกที่เหมือนกันกับแบบรวมชุด
5.2
โครงสร้างของพวงมาลัยกำลัง
พวงมาลัยกำลังหรือพวงมาลัยเพาเวอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
1. ปั๊มน้ำมันไฮดรอลิก ปั๊มน้ำมันเป็นกลไกของระบบไฮดรอลิกที่ต้องการแรงดันในการใช้งานที่สูงมาก ปั๊มน้ำมันๆไฮดรอลิกที่นำมาใช้กับพวงมาลัยเพาเวอร์มีอยู่หลายแบบ
คือ
1.1
ปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกแบบเวน (Vane
Type) ปั๊มน้ำมันแบบนี้จะถูกขับให้หมุนโดยพูลเลย์เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
ปริมาณน้ำมันที่ถูกจ่ายภายใต้แรงดันไปยังกระปุกพวงมาลัยจะเป็นสัดส่วนกับรอบของเครื่องยนต์
แต่ปริมาณน้ำมันไฮดรอลิกที่ส่งไปยังกระปุกจะถูกควบคุมแรงดันโดยลิ้นควบคุมการไหลของน้ำมัน
น้ำมันส่วนเกินนั้นไหลกลับไปยังด้านดูดของปั๊มลิ้นควบคุมปริมาณจะรักษาปริมาณการไหลของน้ำมันให้คงที่อยู่เสมอโดยไม่คำนึงถึงความเร็วของปั๊ม
การทำงานโรเตอร์มีลักษณะกลมจะยึดติดกับเรือนปั๊มน้ำมันและจะหมุนอยู่ภายในเสื้อปั๊มรูปวงแหวนลูกเบี้ยว
โดยที่ใบพัดจะสอดอยู่ในร่องของโรเตอร์ พื้นที่ผิวภายในเสื้อปั๊มรูปวงแหวนลูกเบี้ยวที่มีลักษณะเป็นวงรี จึงทำให้มีระยะช่องดว่างระหว่างโรเตอร์กับเสื้อปั๊ม
แผ่นใบพัดที่สอดอยู่ภายในร่องของโรเตอร์จะทำหน้าที่ปิดกั้นระยะช่องว่างและรัดน้ำมันที่เข้ามาภายในห้องปั๊ม
ภายในห้องปั๊มมีช่องดูดและช่องจ่ายน้ำมันอย่างละ
2 ช่อง เพื่อดูดน้ำมันเข้าและจ่ายน้ำมันออก 2
ครั้งต่อการหมุนของโรเตอร์ 1 รอบ
1.2 ปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกแบบสลิปเปอร์ (Slipper Type) ปั๊มแบบนี้จะมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับปั๊มแบบเวน เสื้อปั๊มมีลักษณะกลม ใบกวาดน้ำมันจะมีสปริงดันให้ผิวสัมผัสกับผนังด้านในของห้องปั๊มอยู่ตลอดเวลา น้ำมันไฮดรอลิกจากถังเก็บน้ำมันจะไหลเข้าทางช่องดูด ขณะที่เกิดช่องว่างขึ้นภายในห้องปั๊ม เมื่อโรเตอร์หมุนต่อไป ช่องว่างจะเริ่มแคบลงดันให้น้ำมันถูกรีดออกทางช่องจ่ายน้ำมัน ปั๊มแบบนี้จะมีลิ้นควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันเช่นเดียวกัน

1.3 ปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกแบบโรลเลอร์
(Roller Type) ปั๊มน้ำแบบนี้โรเตอร์จะหมุนกลิ้งเคลื่อนที่ไปตามโรลเลอร์
เมื่อเกิดแรงเหวี่ยงโรลเลอร์จะถูกเหวี่ยงให้สัมผัสกับผนังเรือนปั๊มอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากเสื้อปั๊มแบบโรลเลอร์มีรูปร่างเยื้องศูนย์
ดังนั้นเมื่อโรลเลอร์หมุนเคลื่อนที่จะเกิดช่องแคบอัด น้ำมันเกิดแรงดันสูงขึ้นจ่ายออกทางช่องจ่ายน้ำมัน

2. ลิ้นควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันและลิ้นสพูล ปริมาณน้ำมันที่จ่ายออกของปั๊มจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์
กำลังที่ใช้ในการบังคับเลี้ยวจะถูกกำหนดจากปริมาณน้ำมันที่จ่ายออกจากปั๊มไปกระทำต่อลูกสูบกำลังเมื่อปั๊มมีรอบการทำงานเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำมันที่จ่ายออกมาจะช่วยในการบังคับเลี้ยว
ทำให้แรงที่ใช้ในการหมุนพวงมาลัยลดลงเพื่อเป็นการรักษาปริมาณการไหลของน้ำมันให้คงที่โดยไม่คำนึงถึงรอบการหมุนของปั๊มระบบควบคุมไฮดรอลิกของพวงมาลัยเพาเวอร์จึงต้องติดตั้งลิ้นควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันไว้ที่ปั๊ม

การจ่ายน้ำมันของปั๊มน้ำมันจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นเมื่อปั๊มมีรอบการหมุนสูงขึ้น
ปริมาณการไหลของปั๊มน้ำมันไปยังกระปุกพวงมาลัยจะลดลง เนื่องจากพวงมาลัยเพาเวอร์ที่มีเซ็นเซอร์วัดรอบการทำงานของเครื่องยนต์
พวงมาลัยแบบนี้จะมีลิ้นควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันประกอบอยู่ภายในลิ้นสพูล


เพลาลิ้นควบคุมจะอยู่ต่อกับพวงมาลัยด้วยสลักยึด
เมื่อหมุนพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง จึงทำให้น้ำมันจากปั๊มไม่เกิดแรงดันขึ้นภายในห้องน้ำมัน
แต่จะไหลกลับไปยังถังเก็บน้ำมันเมื่อหมุนพวงมาลัยไปในตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดลิ้นควบคุมจะเปลี่ยนช่องน้ำมันทำให้น้ำมันไหลผ่านไปยังห้องน้ำมันอีกห้องหนึ่ง
โดยน้ำมันที่อยู่ห้องตรงกันข้ามจะถูกผลักดันผ่านลิ้นควบคุมไปยังกังเก็บน้ำมัน
5. ลิ้นควบคุม ภายในกระปุกพวงมาลัยจะทำหน้าที่ควบคุมทิศทางและปริมาณการไหลของน้ำมันไฮดรอลิกที่ถูกส่งมาจากปั๊มน้ำมัน
เพลาลิ้นควบคุมที่ได้รับแรงบิดจากการหมุนพวงมาลัยและเฟืองขับจะต่อกันด้วยทอร์ชันบาร์
ลิ้นควบคุมที่ใช้ในกระปุกพวงมาลัยเพาเวอร์ในปัจจุบันมี 3 แบบ
5.1 ลิ้นควบคุมแบบโรตารี (Rotary Valve) ลิ้นโรตารีจะถูกยึดติดอยู่กับเฟืองขับด้วยสลักล็อกเพราะลิ้นควบคุมกับลิ้นโรตารีหมุนเคลื่อนที่เป็นหน่วยเดียวกันกับเฟือนขับ
ตัวเรือนของลิ้นด้านนอกจะมีซีลป้องกันการรั่วของน้ำมันระหว่างช่องทางเดินของน้ำมันในแต่ละช่อง
โดยที่ซีลทั้งสี่ตัวจะกดสัมผัสกับผิวด้านในของเรือนลิ้นควบคุมเพื่อให้น้ำมันไฮดรอลิกไหลผ่านเข้าออกรูน้ำมันที่ตัวเรือนลิ้นโรตารี
(Rotary Housing)
เมื่อหมุนพวงมาลัยให้เลี้ยวขวาหรือซ้ายจะทำให้เพลาลิ้นควบคุมหมุนบังคับให้เฟืองขับหมุนตามโดยส่งแรงผ่านไปยังทอร์ชันบาร์ที่บิดไปตามสัดส่วนความฝืด
เพลาลิ้นควบคุมจะถูกกำหนดการเปิด-ปิดลิ้นให้มีความสัมพันธ์กับการจ่ายน้ำมันของโรตารีทำให้แรงดันน้ำมันภายในห้องลูกสูบด้านซ้ายและขวามีแรงดันที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน
น้ำมันจากปั๊มจะไหลเข้าทางด้านนอกของลิ้นโรตารีและไหลกับไปยังถังเก็บน้ำมันผ่านช่องระหว่างทอร์ชันบาร์และเพลาควบคุมลิ้น
5.2 ลิ้นควบคุมแบบสพูล (Spool Valve Type) ลิ้นควบคุมแบบสพูลมจะติดตั้งอยู่ภายในปลอกลิ้น และจะมีร่องและทางเดินน้ำมันซึ่งอยู่ทางตอนล่างของตัวลิ้นควบคุม
จะต่อการทำงานกับเพลาลิ้นควบคุม โดยมีลูกปืนกลมจำนวน
2 ตัว หมุนเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับเฟืองขับ ทำให้ระยะเคลื่อนตัวขึ้นลงได้ประมาณ
1 มิลลิเมตร
ส่วนปลอกลิ้นควบคุม จะติดตั้งระหว่างเรือนกระปุกพวงมาลัยและลิ้นควบคุมที่ยึดติดกับเฟืองขับโดยมีแผ่นเลื่อนปลอกลิ้นและแหวนล็อก
ทำให้ไม่สามารถเลื่อนขึ้นลงได้เมื่อหมุนพวงมาลัยจะทำให้เฟืองขับหมุนเคลื่อนที่ไปตามเพลาลิ้นควบคุม
ทอร์ชันบาร์จะเกิดการบิดตัวขึ้นทำให้เพลาลิ้นควบคุมหมุนเป็นสัดส่วนกับการบิดตัวของทอร์ชันบาร์
เป็นผลให้ลิ้นควบคุมเคลื่อนที่ขึ้นลงตามการเคลื่อนตัวของลูกปืนที่อยู่ภายในร่องเกลียว
แรงดันน้ำมันไฮดรอลิกจะเกิดความแตกต่างขึ้นระหว่างห้องลูกสูบด้านซ้ายและด้านขวา
ทำให้น้ำมันไฮดรอลิกถูกส่งไปยังกระบอกสูบและเกิดแรงที่ช่วยในการบังคับเลี้ยว

5.3 ลิ้นควบคุมแฟลปเปอร์ (Flapper
Valve Type) ลิ้นควบคุมแบบนี้จะถูกประกอบให้รวมเป็นหน่วยเดียวกันกับเพลาทอร์ชันบาร์
โดยที่ลิ้นแฟลปเปอร์ตัวแรกและตัวที่สองจะถูกแรงดันน้ำมันมากระทำกับลิ้นควบคุมและควบคุมแรงดันให้น้ำมันไหลจ่ายไปตามวงจร
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการหมุนของพวงมาลัย

เมื่อหมุนพวงมาลัยไปในตำแหน่งใด แรงดันน้ำมันไฮดรอลิกภายในระบบจะเพิ่มสูง
และเกิดแรงผลักดันลูกสูบเคลื่อนตัวไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อมีแรงดันน้ำมันมาดันเพลาตัวหนอนเพิ่มขึ้นจะปิดช่องทางน้ำมันจึงทำให้แรงดันน้ำมันมีเพิ่มมากขึ้น
เมื่อมีแรงมากระทำต่อเพลาตัวหนอน ลดลงเพลาทอร์ชันบาร์จะบิดตัวเป็นมุมน้อยลง ดังนั้นระยะช่องว่างของลิ้นจะเพิ่มขึ้นและแรงดันมทางห้องลูกสูบด้านนั้นจะลดลง
6.
อุปกรณ์เพิ่มรอบเดินเบา (Idle-up
Device) เมื่อหมุนพวงมาลัยเต็มที่ ปั๊มจะสร้างแรงดันน้ำมันเพิ่มมากขึ้น
เป็นผลให้ปั๊มต้องรับโหลดมามากขึ้น ความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ตกลง รถยนต์ส่วนมากที่ใช้พวงมาลัยเพาเวอร์จึงต้องมีอุปกรณ์เพิ่มรอบเดินเบาให้กับเครื่องยนต์อุปกรณ์เพิ่มรอบเดินเบาจะมีลิ้นควบคุมอากาศติดตั้งที่เรือนปั๊ม
เมื่อมีแรงดันน้ำมากระทำกับลูกสูบของลิ้น ทำให้ลิ้นอากาศเปิดให้ปริมาณอากาศจากภายนอกไหลผ่านช่องอากาศใต้ลิ้นเร่งทำให้ความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น

7.
กระปุกพวงมาลัยเพาเวอร์แบบลูกปืนหมุนเวียน กระปุกพวงมาลัยเพาเวอร์แบบลูกปืนหมุนเวียน
หรือเรียกว่าแบบใช้ลิ้น 2
หัว (ลิ้นใบพัด = Flapper Valve Type)
ใช้สำหรับขับเคลื่อนล้อหลัง เช่น รถบรรทุกเล็ก (Pickup) รถโดยสารและรถบรรทุกหนัก
(อำพล , 2548:132)

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น