หน่วยที่
1 เครื่องมือพิเศษและความปลอดภัยในงานเครื่องล่างรถยนต์
(Service Special Tools And Safaty)
1.1
เครื่องมือพิเศษ
หมายถึง เครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะ
ใช้กับงานแต่ละชนิด มีความเหมาะสม ปลอดภัยและรวดเร็ว รถแต่ละรุ่น ควรใช้เครื่องมือพิเศษตามคำแนะนำในหนังสือคู่มือของรถแต่ละรุ่น
เครื่องมือพิเศษบางชนิดสามารถทำขึ้นมาใช้เองได้
1.2 กฎความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
1.2.1 ควรใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน เช่น เครื่องมือขนาดเล็กต้องใช้กับงานขนาดเล็กเท่านั้น
เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหาย
1.2.2 ควรเก็บรักษาเครื่องมือให้ดี
และทำความสะอาดเสมอ
1.2.3
ควรมีเครื่องป้องกันอันตรายสำหรับเครื่องมือบางชนิด
1.2.4 ควรสวมแว่นตานิรภัย เมื่อปฏิบัติงานที่มีสะเก็ด
หรือเศษโลหะฟุ่งกระจาย
1.2.5 ควรรักษาบริเวณที่ทำงานให้สะอาด
1.2.6 ควรแต่งกายให้รัดกุม
ไม่รุ่มร่ามหรือสวมชุดทำงานให้เหมาะสม
1.2.7 ควรปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออก เมื่อเลิกใช้งาน
และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
1.2.8 ควรจับยึดชิ้นงาน
เครื่องมือ-เครื่องจักรให้แน่นขณะปฏิบัติงาน
1.2.9 ควรทำงานให้เป็นธรรมชาติ
อย่าเร่งทำงานเกินกว่าปกติ ที่เครื่องมือ-เครื่องจักรจะอำนวยได้
1.2.10 ควรยืนปฏิบัติงานให้สมดุลมั่นคง
1.2.11 ควรระมัดระวังเครื่องมือที่แหลมคม
ให้คมของเครื่องมือห่างจากตัว
1.2.12 ควรต่อ Ground เครื่องมือ-เครื่องจักรไฟฟ้าเสมอ
1.3 ความปลอดภัยในการทำงาน
เมื่อความรับผิดชอบของท่านต่อการที่จะทำงานด้วยความปลอดภัย
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งการพยายามปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องนี้ จะเป็นผลดีทั้งของที่ทำงาน ของตัวท่านเอง
ครอบครัวของท่าน
พวกพ้องที่ปฏิบัติด้วยกันและที่ทำงานของท่านอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้โดยมาก
สาเหตุมาจากมนุษย์ สภาพสิ่งแวดล้อม และสภาพจิตใจหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
1.3.1 อุบัติเหตุเนื่องจากมนุษย์
อุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากการใช้เครื่องจักร
หรือเครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดกุมเหมาะสมกับงาน
ความเลินเล่อของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น
1.3.2
อุบัติเหตุเนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
อุบัติเหตุชนิดนี้มีมาจากการบกพร่อง
หรือไม่ทำงานของเครื่องจักร หรือเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันภัยมีไม่เพียงพอ
หรือแม่แต่สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี ดังนั้น ควรที่จะหมั่นตรวจตรา
และแก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ เหล่านี้อยู่เป็นประจำ
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุอันอาจจะเกิดขึ้นได้
1.4 ความปลอดภัยในงานเครื่องล่าง
การคลุมบังโคลนและพื้นรถ
-คลุมบังโคลนเพื่อรักษาสีรถไม่ให้เปื้อนและถูกขีดข่วน
-คลุมพื้นรถเพื่อป้องกันสกปรกจากรองเท้า
การเก็บชิ้นส่วนไว้อย่างเป็นระเบียบ
-ถอดชิ้นส่วนออกเรียงไว้ตามลำดับการถอด
-ผูกเป็นชุด หากต้องประกอบใช้ภายหลัง
-ทำเครื่องหมายเพื่อประกอบกลับได้ถูกต้องตามเดิม
-ห่อเก็บกันสิ่งสกปรกเมื่อจะใช้วันข้างหน้า
การเปลี่ยนอะไหล่ที่เสื่อมสภาพ
-เปลี่ยนซีลกันรั่ว ปะเก็นแหวนยางและปิ้น
เมื่อประกอบ
ชิ้นส่วนกลับคืน
-อย่านำอะไหล่ที่ต้องการเปลี่ยนกลับมาใช้อีก
ให้เปลี่ยนใหม่
การเลือกใช้อะไหล่
-ใช้อะไหล่และสารหล่อลื่นของแท้
หรือที่มีคุณภาพเท่าเทียม
-เมื่อจะนำอะไหล่เก่ากลับมาใช้ใหม่ต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในสภาพดีที่ใช้วานได้ไม่มีความเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ
การถอดท่อน้ำมันเบรก
-ถอดเหล็กล็อกท่อน้ำมันเบรก
ข้อควรจำ
การถอดหรือประกอบท่อน้ำมันเบรกให้ใช้ประแจ 2
ตัวเสมอ
-ใช้ประแจปากตายจับยึดท่อยางไว้
-ใช้ประแจท่อน้ำมันเบรกคลายน็อตหัวท่อเหล็ก
ข้อควรจำ
การประกอบท่อให้หมุนเข้าด้วยมือก่อนใช้ประแจขัน
การใช้น้ำมันเบรก
-เติมด้วยน้ำมันเบรกตัวเดิม
-อย่านำน้ำมันเบรกที่ถ่ายออกกลับมาใช้อีก
-น้ำมันเบรกก่อความเสียหายให้สีและพื้นพลาสติกได้
ถ้าพลาดพลั้งทำหกใส่ให้รีบใช้น้ำล้างออกจากสีหรือพื้นพลาสติก
-หลังถอดท่อเบรก
ให้อุดปลายที่เปิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันเบรก
-ทำความสะอาดชิ้นส่วนแม่ปั๊มเบรกและชิ้นส่วนกระบอกเบรกที่ถอดออกมาทุกชิ้นในน้ำมันเบรกที่สะอาดเท่านั้น
-เป่ารูและช่องทางน้ำมันเบรกผ่านให้สะอาดด้วย
การใช้น้ำมันหล่อลื่น
-ใช้แต่น้ำมันเครื่องเบอร์เดิมตามกำหนด
-ใช้แต่น้ำมันเกียร์เบอร์เดิมตามที่กำหนด
-ใช้แต่จารบีตัวเดิมตามที่กำหนด
-ระวังสิ่งปนเปื้อนสารหล่อลื่น
-ระวังน้ำมันหรือจารบีถูกท่อยาง
การรองรับรถป้องกันอุบัติเหตุ
-ก่อนยกหน้ารถต้องดึงเบรกมือและหนุนล้อหลังไว้ทั้ง
2 ด้าน
-ยกล้อหน้าที่จุดรองรับไม่ได้รัยอันตราย
-รองรับตัวรถให้ถูกที่ไม่ให้เกิดการเสียหายหรือเกิดอันตรายในการทำงาน
การทำงานใต้ท้องรถให้ปลอดภัย
-เบรกมือให้แน่น
-หนุนล้อหลังทั้ง 2 ด้าน
-ถอดขั้วแบตเตอรี่
-ยกหน้ารถขึ้นตั้งบนขาตั้ง
การถอดลูกหมากคันส่ง
-ถอดปิ้นและถอดน็อต
-ใช้เหล็กดูดลูกหมากคันส่งถอดลูกหมากคันส่ง
การตรวจซ่อมชิ้นส่วน
-ก่อนถอดหรือแยกชิ้นส่วน
ต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังเพื่อจำแนกปัญหาที่ต้องแก้ไข
-ปฏิบัติตามหมายเหตุและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทุกข้อ
-ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมซึ่งระบุไว้ในคู่มือซ่อม
การประกอบชิ้นส่วน
-ต้องประกอบชิ้นส่วนกลับเข้าไปโดยการใช้แรงขันแน่นที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้
-เมื่อต้องการขันน็อตสกรูเป็นชุด
ให้เริ่มจากตรงกลาง
หรือตัวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ก่อน
-ขันในลักษณะตรงข้ามโดยไม่ขันแน่นเพียงครั้งเดียวแต่ขันแน่น
2-3 รอบ
การใช้ประแจลม
-เหมาะสำหรับการคลายสกรูขันล้อ มีแรงมากและคลายได้เร็ว
-การใช้ประแจลมขันสกรูขันล้อต้องระวังจะแน่นเกินไปจนเป็นอันตราย
ข้อควรจำ
ปรับความดันลมให้เหมาะสมกับขนาดสกรู
อันตรายถ้าขันแน่นด้วยประแจลมควรใช้ประแจลมพอแน่นแล้วขันแน่นด้วยมือ
1.5 การยกรถด้วยแม่แรงและด้วยลิฟต์ยกรถให้ปลอดภัย
1.5.1 การยกรถด้วยแม่แรง
1) ดึงเบรกมือ
ล็อกล้อที่จะไม่ยก
2) เมื่อจะยกส่วนท้ายรถให้เข้าเกียร์ถอยหลัง
(เกียร์อัตโนมัติให้เข้าเกียร์ในตำแหน่งP)
3) ยกรถขึ้นให้สูงพอที่จะใส่ขาตั้ง3ขาเข้าไปได้
4)
ปรับและจัดวางขาตั้ง 3 ขาเพื่อให้รถอยู่ในแนวระดับพอประมาณ
จากนั้นลดระดับรถลงวางบนขาตั้งนิรภัย
1.5.2 การยกรถด้วยลิฟต์ยกรถ
1) รองรับแป้นยก
2) ยกแม่แรงขึ้นให้รถลอย
5 - 6 ซม.
ทดลองโยกตัวรถเพื่อให้แน่ใจว่ามั่นคง
3) ยกแม่แรงขึ้นจนสุด
ตรวจสอบจุดยกดูความมั่นคงในการรับน้ำหนัก